วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วัสดุมุงหลังคา

                                ต้นอะไรก็ไม่รู้ เห็นขึ้นอยู่ข้างทาง เลยแยกมาลงกระถาง
แนวคิดแรกเริ่ม  กำลังหาพืชพื้นบ้านที่มีศักยภาพในการทำเป็นวัสดุมุงหลังคา คือยังนี้นะ ผมไปพบบ้านของคนญี่ปุ่นที่เป็นมรดกโลก บ้านเขาเป็นบ้านมุงหญ้า แต่ดูมั่นคงและสวยงามมาก ต่างจากบ้านมุงหญ้าคาของเราที่ดูบอบบางและไม่ทน ความต่างใหญ่ๆที่สังเกตุเห็นจากรูปคือ ญี่ปุนเขามุงหนากว่าอาจจะหนามากกว่าฟุต และมุมหลังคาเขาทำมุมแหลมกว่าเรา ทำมุม 60 องศา ซึ่งมีประโยชน์ที่รั่วยากและน้ำไม่ขังนาน แต่จะคลุมพื้นที่ได้น้อย ไอ้เรากลับมาคิดดูก็พบว่าขณะนี้บ้านเราการจะมีบ้านหลังหนื่งเราต้องซื้อต้องจ้างทุกอย่างเรียกว่าถ้าไม่มีเงินก็ไม่มีที่ซุกหัวนอน เราสูญเสียความสามารถในการสร้างบ้านอยู่เองแล้ว หลายคนบอกว่ายังมีทักษะอยู่แต่ไม่มีปูนไม่มีกระเบื้อง ผมก็เลยมาครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพบว่าเราน่าจะสามารถสร้างบ้านที่อยู่อาศัยได้จริง เป็นบ้านที่คงทนถาวร ไม่จุกจิก(ตัดบ้านดินที่เขาพูดถึงกันมากไปเลย) โดยใช้วัสดุพื้นบ้านได้ ผมมาลงตัวที่การใช้ไม้ยูคาและมุงด้วยหญ้าที่แข็งแรง ตอนนี้ผมเน้นที่วัสดุมุงหลังคาก่อน แรกๆดูที่หญ้าคาหรือแฝกก่อนเพราะมีทั่วไป แต่คิดว่าำไม่ทนแม้จะมุงหนาๆทำมุมชันมากๆ ที่ว่าทนคือน่าจะอยูได้นานสัก 25 ปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนคืออยู่จนลูกโตมีงานทำว่างั้นเหอะ ต่อมาก็สนใจใบตาลเพราะมีเยอะพอสมควรและเห็นมันแห้งติดอยู่กับต้นได้นาน 10-20 ปี คือว่าเรื่องทนน่าจะผ่าน แต่มาติดที่การจัดการเพราะใบตาลมันแผ่เป็นหางปลาช่อนน่าจะมุงแล้วไม่แน่น มีรูมีช่องให้นกทำรังได้ แม้ว่าผมจะรู้มาว่าเคยมีการใช้มุงหลังคาในเขมรและเวียดนามในยุคแห่งความยากลำบากแต่เขาน่าจะใช้ใบสดมาตัดแบ่งแล้วค่อยมุง ผมไม่ยากให้เราตัดใบสดมาใช้กลัวต้นตาลตาย ต่อมาผมคิดว่าไผ่ก็น่าจะใช้ได้โดยตัดต้นมาจักตอกยาวๆแล้วมัดเป็นฝ่อนใช้มุงหลังคาความทนไม่ห่วง ห่วงแต่ต้นทุนการจักตอกนี่แหละก็เลยเลิกล้มไป วันหนี่งผมเดินเล่นก็ไปเจอเจ้าต้นนี้แหละ มันคล้ายไผ่ขนาดเล็กไม่มีหนาม ขื้นเป็นกอ เลยคิดว่าน่าจะใช้มุงหลังคาได้ เลยแยกมาศึกษา คิดว่าถ้ามันขยายพันธุ์ง่ายจะได้ตัดไปมุงหลังคา เราอาจปลูกมันไว้เป็นแนวรั้วหรือแนวสวนแลัวตัดเก็บใว้ใช้ได้นานๆ เข้าใจว่าเป็นตัวเดียวกับที่ปู่ย่าใช้เป็นแกนแล้วพอกโคลนหรือขี้ควายทำยุ้งข้าวสมัยก่อน โดยส่วนตัวผมชอบหลังคาแบบนี้เพราะมันเย็นดี คือผมคิดว่ามันมีสมบัติทำให้ในบ้านมีบับเฟอร์ทางอูณหภูมิ ให้เราสบายตลอดแม้ว่าข้างนอกจะร้อนหนาวเพียงใด

โป๊ยเซียนบนยอดส้มเช้า

                                           ต้นส้มเช้า กับ โป๊ยเซียนพันธุ์ศรีอัมพร
แนวคิดตอนแรก  โป๊ยเซียน เสื่อมจากความนิยมในประเทศไทยมานานพอสมควรเกือบสิบปีแล้วมั๊ง นับจากช่วงปี 38-44 สำหรับตัวผมเองคิดว่าน่าจะมาจากการที่เมื่อเลี้ยงต้นเดิมไปนานๆแล้วมันจะสูง ผอม ยาว ดูไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่ใหญ่ป้อมแบบชวนชม ก็เลยคิดว่าจะต่อขาให้โป๊ยเซียน โดยใช้ต้นส้มเช้าเป็นฐาน ความจริงการเสียบกิ่งโป๊ยเซียนกับส้มเช้ามีมานานแล้ว แต่ตัวผมเองยังไม่เห็นการที่เอาต้นใหญ่ๆมาใช้เป็นต้นตอ เมื่อเกิดไอเดียบรรเจิดก็เลยลงมือเลย  เริ่มจากหากิ่งส้มเช้ามาขยายปริมาณก่อน ขอกิ่งคนรู้จักมาได้ 4 กิ่ง เอามาปลูกลงดินทิ้งใว้ 1 ปี ให้มันโตหน่อย อ้อเพื่อนคนนั้นเขาบอกว่าที่เรียกว่าส้มเช้าเป็นเพราะว่ายอดอ่อนของมันจะมีรสเปรี้ยวเฉพาะตอนเช้าเท่านั้น จริงเท็จประการได้ไม่ยืนยัน
  ส่วนโป๊ยเซียนผมใช้ศรีอัมพร เพราะดอกแดงสวยและที่สำคัญต้นมันเป็นพุ่มเตี้ย ซึ่งผมจินตนาการว่าเมื่อต่อกับส้มเช้าแล้วจะก่อให้เกิดไม้พุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 1.5-2 เมตร โคนลำต้นใหญ่ขนาดโคนขา แล้วมีกิ่ง 2-3 กิ่งทีมีดอกโป๊ยเซียนเป็นพุ่มกลมๆอยู่ที่ปลายกิ่ง การดูแลก็แค่ตัดแต่งกิ่งเล็กๆน้อยๆให้สูงเท่าเดิมแต่ต้นจะหนาขึ้น ดูเก่าแก่และมีคุณค่า
  นั่นคือสิ่งที่คิดไว้ มาดูความจริงกันบ้าง พอส้มเช้าใหญ่ได้ขนาดแล้วก็ขุดมาลงกระถางแล้วเริ่มเสียบกิ่ง โดยวิธีการเสียบเข้าลิ่มจากนั้นใช้ถุงพลาสติกครอบใว้ 7 วัน ผมตัดปลายกิ่งส้มเช้าแล้วเสียบแบบกิ่งใหญ่ๆเลยนะ   ปรากฎว่าเสียบติดแต่ติดแบบร่อแร่แผลกิ่งส้มเช้าเน่ากิ่งโป๊ยเซียนไม่เจริญเลย ได้แต่ออกดอกแล้วทิ้งใบ แถมคนทำก็เอวเจ็บจากการยกกระถาง
แนวคิดที่ได้จากการทำจริง  น่าจะตัดกิ่งส้มเช้าแลัวรอให้แตกกิ่งใหม่เล็กๆแล้วค่อยเสียบกิ่งโดยรอให้ขนาดกิ่งเท่ากันก่อน หลังเสียบกิ่งให้นำต้นเก็บในที่ร่ม
อนาคต  ผมยังเห็นความเป็นไปได้ จึงได้ขยายจำนวนต้นตอส้มเช้ารอใว้
ภาพแบบจะๆ